โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส
ทฤษฎีพัฒนาการตามวัยของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส
ศาสตราจารย์โรเบิร์ต ฮาวิกเฮิร์ส (Robert havighurst 1953-1972)ได้ให้ชื่อว่างานที่มนุษย์ทุกคนจะต้องทำตามวัยว่า
“งานพัฒนาการ ” หมายถึง งานที่ทุกคนจะต้องทำในแต่ละวัยของชีวิต สัมฤทธิ์ผลของงานพัฒนาการของงานแต่ละวัย
มีความสำคัญมากเพราะเป็นของการเรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไป
ในการสร้างทฤษฎีงานพัฒนาการ
ฮาวิกเฮิร์ส ถือว่าการพัฒนาการของมนุษย์ไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยทางสรีระหรือชีวะแต่เพียงอย่างเดียว สังคมและวัฒนธรรม
และปัจจัยทางจิตวิทยาของแต่ละบุคคลมีอิทธิพลในการพัฒนาการของบุคคลด้วย ดังนั้น ฮาวิกเฮิร์ส ได้สรุปว่า ตัวแปรที่สำคัญในการพัฒนามี 3
อย่าง
1. วุฒิภาวะทางร่างกาย
2.
ความมุ่งหวังของสังคมและกลุ่มที่แต่ละบุคคลเป็นสมาชิกอยู่
3. ค่านิยม แรงจูงใจ
ความมุ่งหวังส่วนตัวและความทะเยอทะยานของแต่ละบุคคล
3.1
ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural Readiness Approach)
กลุ่มนี้นี้ความเห็นว่า
ความพร้อมของบุคคลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อถึงวัยหรือเมื่อถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดได้ดังนั้นในกลุ่มนี้จึงเห็นว่าการทำอะไรก็ตามไม่ควรจะเป็น
“การเร่ง” เพราะการเร่งจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น
ตรงกันข้ามอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ ความท้อถอย และความเบื่อหน่าย เป็นต้น
3.2
ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น (Guided Experience Approach)
กลุ่มนี้มีความเห็นตรงข้ามกับกลุ่มแรก คือ เห็นว่า
ความพร้อมนั้นสามารถเร่งให้เกิดขึ้นได้ โดยการกระตุ้น การแนะนำ
การจัดประสบการณ์อันจะก่อให้เกิดเป็นความพร้อมได้โดยตรง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเด็ก ซึ่งจะเป็นวัยที่มีช่วงวิกฤติ (Critical Period)ของการเรียนรู้และการปรับตัวเป็นอย่างมาก
4. สิ่งแวดล้อม ได้แก่
สิ่งที่อยู่รอบตัวบุคคลนั้นๆ ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต
นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมยังหมายรวมถึงระบบและโครงสร้างต่างๆ
ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เช่น ระบบครอบครัว ระบบสังคม ระบบวัฒนธรรม เป็นต้น
การแบ่งพัฒนาการของมนุษย์
พัฒนาการของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 4
ด้านใหญ่ๆ คือ
1.
พัฒนาการทางกาย เป็นการแบ่งพัฒนาการของมนุษย์ตามขั้นตอนในแต่ละวัน
2.
พัฒนาการทางด้านความคิดหรือสติปัญญา (Cognitive
Development) ของเพียเจท์
3.
พัฒนาการทางด้านจิตใจ ซึ่งแบ่งย่อยเป็น
3.1
พัฒนาการทางด้านจิตใจ-เพศ (Psychosexual Development)
ของฟรอยด์ (Freud)
3.2
พัฒนาการทางด้านจิตใจ-สังคม (Psychosocial Development)
ของอีริคสัน (Erikson)
4.
พัฒนาการด้านจริยธรรม (Moral Development) ของโคลเบิร์ก (Kohlberg)
พัฒนาการตามวัย
ตามแนวความคิดของฮาวิคเฮอร์ท (Hovighurst) ได้แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ออกเป็นวัยต่างๆได้ดังนี้
1.
วัยเด็กเล็ก-วัยเด็กตอนต้น (แรกเกิด- 6 ปี)
ในวัยนี้จะมีงานที่สำคัญ ดังนี้
- การเรียนรู้ทางด้านร่างกาย
เช่น การยกศีรษะ คลาน การทรงตัว การเดิน
-
การเรียนรู้ทางด้านการรับประทานอาหาร
- การเรียนรู้ทางด้านการเปล่งเสียง
การพูด
-
การเรียนรู้ในเรื่องการควบคุมการขับถ่าย
- เริ่มมีความคิดรวบยอดง่ายๆ
เกี่ยวกับความจริงทางสังคม และทางกายภาพ
-
เริ่มรู้จักแยกความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ผิด-ถูก และเริ่มพัฒนาทางจริยธรรม
2.
วัยเด็กตอนกลาง (6-12ปี)
ในวัยนี้จะมีงานที่สำคัญ ดังนี้
- พัฒนาทักษะทางด้านกายภาพ
-
เรียนรู้ที่จะแสดงบทบาทให้เหมาะสมกับเพศของตนเอง
-
พัฒนาในเรื่องการปรับตัวเข้ากับเพื่อนรุ่นเดียวกัน
- พัฒนาเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม
ค่านิยม เพื่อเตรียมพร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
3. วัยรุ่น (12-18 ปี)
พัฒนาการที่สำคัญของบุคคลในวัยนี้ คือ
-
พัฒนาความคิดรวบยอดและทักษะในการแก้ปัญหา
-
สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีและเหมาะสมกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน
ทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศได้
-
พยายามปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนทั้งทางด้านร่างกายและอารมณ์
4.
วัยผู้ใหญ่ตอนต้น (18-35 ปี)
ในวัยนี้จะมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
- เริ่มต้นประกอบอาชีพ
- เริ่มสร้างครอบครัวของตนเอง
-
เรียนรู้ที่จะมีชีวิตร่วมกับคู่แต่งงาน
5. วัยกลางคน (35-60 ปี)
งานที่สำคัญในวัยนี้ คือ
- มีความรับผิดชอบต่อสังคม
- มีความพยายามในการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ
เพื่อความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว
-
รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น
-
สามารถปรับตัวและทำความเข้าใจคู่ชีวิตของตนเองให้ได้
6. วัยชรา (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป)
งานที่สำคัญในวัยนี้ คือ
- สามารถปรับตัวกับสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง
-
สามารถปรับตัวได้กับการเกษียณอายุการทำงาน
-
สามารถปรับตัวได้กับการตายจากของคู่ครอง
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
ฟรอยด์ เชื่อว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์ มีแรงจูงใจมาจากจิตไร้สำนึก
ซึ่งมักจะผลักดันออกมาในรูปความฝัน การพูดพลั้งปาก
หรืออาการผิดปกติทางด้านจิตใจในด้านต่างๆ เช่น โรคจิต โรคประสาท เป็นต้นยัง
เชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับแรงขับทางสัญชาตญาณ (Instinctual drive) และเป็นพลังงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนที่ได้
จิตจึงเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงและไม่หยุดนิ่ง
บ้างจะแสดงออกมาในรูปแบบของสัญชาตญาณทางเพศ (Sexual Instinct) แต่ฟรอยด์ไม่ได้หมายถึง ความต้องการทางเพศ นอกจากนี้
ฟรอยด์ยังได้อธิบายว่าสัญชาตญาณจะแสดงออกมาในรูปของพลังทางจิตที่เกี่ยวข้องกับพลังขับทางเพศเรียกว่า
พลังลิบิโด (Libido)
พลังลิบิโด (Libido)
ทฤษฎี
ใช้วิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์
(Psychoanalysis) กับคนไข้ที่เป็นอัมพาต
กล่าวคือให้ผู้ป่วยเล่าถึงความคับข้องใจหรือความหวาดกลัวและพยายามให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุการณ์นั้นๆ
เพื่อลดความขัดแย้งในใจ ปรากฏว่ามีผู้ป่วยหลายรายหายจากอัมพาตซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund
Freud) ได้ศึกษาวิเคราะห์จิตใจของมนุษย์ และอธิบายว่า
จิตใจทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) แบ่งจิตออกเป็น 3 ระดับดังนี้
1. จิตสำนึกหรือจิตรู้สำนึก (Conscious mind)
หมายถึงภาวะจิตที่รู้ตัวอยู่ได้แก่
การแสดพฤติกรรม เพื่อให้ สอดคล้องกับหลักแห่งความ
เป็นจริง
2. จิตกึ่งสำนึก (Subconscious mind)
หมายถึงภาวะจิตที่ระลึกถึงได้
รองศาสตราจารย์ กลมรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2528 : 35)ได้กล่าวถึง Subconscious
mind ว่าหมายถึงส่วนของจิตใจ
ที่มิได้แสดงออกเป็นพฤติกรรม ในขณะนั้น แต่ เป็นส่วนที่รู้ตัว
สามารถดึงออกมใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เช่น นางสาว ก. มีน้องสาวคือนางสาว ข.
ซึ่งกำลังตกหลุมรัก นาย ค. แต่นางสาว ข. เกรงว่ามารดาจะทราบความจริงจึงบอกพี่สาว
มิให้เล่าให้มารดาฟัง นางสาว ก. เก็บเรื่องนี้ไว้เป็น ความลับ
มิได้แพร่งพรายให้ผู้ใดทราบโดยเฉพาะมารดาแต่ ในขณะเดียวกันก็ทราบอยู่ตลอดเวลาว่า
นางสาว ข. รักนาย ค. ถ้าเขาต้องการเปิดเผย เขาก็จะบอกได้ทันที ลักขณา สิริวัฒน์
(2530 : 9) กล่าวถึง Subconscious mind ว่าผลมันเกิด
จากการขัดแย้งกันระหว่าง พฤติกรรมภายใต้อิทธิพลจิตรู้สำนึกกับอิทธิพลของ
จิตใต้สำนึกย่อมก่อให้เกิดการหลอกลวงตัวเองขึ้น ภายในบุคคล
3. จิตไร้สำนึกหรือจิตใต้สำนึก (Unconscious
mind)
หมายถึงภาวะจิตที่ไม่อยู่ในภาวะที่รู้ตัวระลึกถึงไม่ได้
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2524 : 121) กล่าวว่า
จิตไร้สำนึกเป็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจ มีการเก็บกด (Repression) เอาไว้อาจเป็นเพราะ ถูกบังคับ หรือไม่สามารถแสดงอาการโต้ตอบได้ในขณะนั้นในที่สุดก็จะฝังแน่นเข้าไป
จนเจ้าตัวลืมไปชั่ว ขณะจะแสดงออกมาในลักษณะการพลั้งเผลอ เช่น พลั้งปากเอ่ยชื่อ
คนรักเก่าต่อหน้า คนรักใหม่ เป็นต้น
คณาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2530 : 16)
กล่าวว่าสิ่งที่มีอิทธิพล จูงใจพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตของคนเรามากที่สุดก็คือ
ส่วนที่เป็นจิตใต้สำนึกและสิ่งที่คนเรามัก จะเก็บกดลงไปที่จิตใต้ สำนึก
ก็คือความต้องการก้าวร้าว กับความต้องการทางเพศ ซึ่งจะมีแรงผลักดัน
การทำงานของจิต แบ่งออกเป็น 3 ระดับ
คือ
จะเห็นได้ว่าการทำงานของจิตทั้ง
3 ระดับจะมาจากทั้งส่วนของจิตไร้สำนึกที่มีพฤติกรรม ส่วนใหญ่เป็นไปตามกระบวนการขั้นปฐมภูมิ
(Primary Process)เป็นไปตามแรงขับสัญชาตญาณ ( Instinctual
Drives ) และเมื่อมีการรับรู้กว้างไกลมากขึ้นจากตนเองไปยังบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม
พลังในส่วนของจิตก่อนสำนึกและจิตสำนึก จะพัฒนาขึ้นเป็นกระบวนการขั้นทุติยภูมิ (Secondary
Process) ฟรอยด์
เชื่อว่าโครงสร้างของบุคลิกภาพจะประกอบด้วย อิด (Id) อีโก้ (Ego)
และซูเปอร์อีโก้ (Superego) โดยจะอธิบายเป็นข้อๆ
ดังนี้
1. อิด ( Id ) จะเป็นต้นกำเนิดของบุคลิกภาพ
และเป็นส่วนที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด Id ประกอบด้วยแรงขับทางสัญชาตญาณ
( Instinct ) ที่กระตุ้นให้มนุษย์ตอบสนองความต้องการ ความสุข
ความพอใจ ในขณะเดียวกันก็จะทำหน้าที่ลดความเครียดที่เกิดขึ้น การทำงานของ Id
จึงเป็นไปตามหลักความพอใจ (Pleasure Principle)
2. อีโก้ ( Ego ) จะเป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ทำหน้าที่ประสาน อิด
และ ซูเปอร์อีโก้ ให้แสดงบุคลิกภาพออกมาเพื่อให้เหมาะสมกับความเป็นจริง
และขอบเขตที่สังคมกำหนดเป็นส่วนที่ทารกเริ่มรู้จักตนเองว่า ฉันเป็นใคร Ego ขึ้นอยู่กับหลักแห่งความเป็นจริง(Reality Principle)ที่มีลักษณะของการใช้ความคิดในขั้นทุติยภูมิ
(Secondary Process of Thinking) ซึ่งมีการใช้เหตุผล
มีการใช้สติปัญญา และการรับรู้ที่เหมาะสม และอีโก้ (Ego) เป็นส่วนที่อยู่ในระดับจิตสำนึกเป็นส่วนใหญ่
3. ซูเปอร์อีโก้ (Superego)เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมจรรยา
บรรทัดฐานของสังคม ค่านิยม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ
ซึ่งทำหน้าที่ผลักดันให้บุคคลประเมินพฤติกรรมต่างๆ ทีเกี่ยวข้องกับมโนธรรม
จริยธรรมที่พัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดู โดยเด็กจะรับเอาค่านิยม
บรรทัดฐานทางศีลธรรมจรรยา
พัฒนาการทางบุคลิกภาพ
ฟรอยด์ ได้อธิบายถึงการพัฒนาการทางบุคลิกภาพ
ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการทางเพศ (Stage of
Psychosexual Development) จากความเชื่อเกี่ยวกับสัญชาตญาณทางเพศในเด็กทารกที่แสดงออกมาในรูปพลังของ
ลิบิโด (Libido) และสามารถเคลื่อนที่ไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายและบริเวณที่พลังลิบิโดไปรวมอยู่เรียกว่า
ที่ของความรู้สึกพึงพอใจ (Erogeneous Zone) เมื่อพลังลิบิโดไปอยู่ในส่วนใดก็จะก่อให้เกิดความตึงเครียด
(Tension) ซึ่งฟรอยด์ แบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพออกเป็น 5 ขั้น
ได้แก่
1. ขั้นปาก (Oral Stage) เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous
Zone จะอยู่บริเวณปาก การได้รับการกระตุ้น
หรือเร้าที่ปากจะทำให้เด็กเกิดความพึงพอใจ
ทำให้เด็กตอบสนองความพึงพอใจของตนเองโดยการดูด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การดูดนมแม่จึงเป็นความสุขและความพึงพอใจของเขา
2. ขั้นทวารหรือขั้นอวัยวะขับถ่าย (Anal Stage) เด็กจะมีอายุตั้งแต่ 1-3 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous
Zone จะอยู่ที่บริเวณทวาร
โดยที่เด็กจะมีความพึงพอใจเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น
หรือเร้าบริเวณทวารในระยะนี้เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเอง
เริ่มมีความพึงพอใจกับความสามารถในการควบคุมอวัยวะของตนเอง โดยเฉพาะอวัยวะขับถ่าย
กิจกรรมที่เด็กมีความสุขจะเกี่ยวข้องกับการกลั้นอุจจาระ (Anal Retention) และการถ่ายอุจจาระ (Anal Expulsion) ความขัดแย้งที่มักเกิดขึ้นในขั้นนี้คือ
การฝึกหัดการขับถ่าย(Toilet) Training ดังนั้น
ถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่ และฝึกการขับถ่ายให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
3. ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น (Phallic Stage) เริ่มตั้งแต่ 3 - 5 ขวบ ในขั้นนี้ Erogenous
Zone จะอยู่ที่อวัยวะเพศ
โดยที่เด็กเกิดความรู้สึกพึงพอใจกับการจับต้องอวัยวะเพศ
เพราะมีความพึงพอใจทางเพศอยู่ที่ตนเองในระยะแรก ถ้าเด็กมีเพศตรงข้ามกับพ่อแม่เด็ก
จะทำให้เด็กชายรักใคร่ และหวงแหนแม่จึงเกิดความรู้สึกอิจฉา
เด็กหญิงจะรักใคร่และหวง แหนพ่อ จึงรู้สึกอิจฉาและเป็นศัตรูกับแม่
4. ขั้นแฝง (Latency Stage) เริ่มตั้งแต่ อายุ 6 - 11 ปี ในขั้นนี้ Erogenous
Zone จะไม่ปรากฏอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ
เสมือนขั้นแฝงของพลัง Libido เป็นระยะพักในเรื่องเพศ
และจินตนาการทางเพศ
5. ขั้นอวัยวะเพศตอนปลาย (Genital Stage) เริ่มจาก 12 ขวบเป็นต้นไป
ในระยะนี้เด็กจะเข้าสู่วัยรุ่น ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่และวัยชรา โดยมี Erogonous
Zone จะมาอยู่ที่อวัยวะเพศ (Genitel Area) เมื่อเด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั้งหญิงและชายต่างๆ
กัน และมีพัฒนาการทางร่างกายมีความสามารถในการสืบพันธุ์
้ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีความต้องการทางเพศอย่างรุนแรง
ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้องการเป็นอิสระ
ทฤษฎีพัฒนาการทางจิต-สังคม ของอีริคสัน
อีริคสัน
เป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฎีขึ้นในแนวทางความคิดของฟรอยด์
แต่ได้เนินความสำคัญทางด้านสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจ (Psychological
Environment) ว่ามีบทบาทในพัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอีริคสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ
เป็นต้นว่า เห็นความสำคัญของEgo มากกว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น
แต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตคือ วัยชรา และตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ บุคลิกภาพของคนก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ
แนวคิด
แแต่ละคนจะมีประสบการณ์กับวิกฤตภายในเชื่อมโยงกับแต่ละขั้นของชีวิต
(จิตวิทยาสังคม) 8 ครั้ง
ซึ่งในสามขั้นแรกถือเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดซึ่งเกิดในช่วงปฐมวัย คือ ขั้นที่ 1 การเชื่อใจ-การไม่เชื่อใจ ขั้นที่ 2
การเป็นตัวของตัวเอง-ความละอายใจและความสงสัย ขั้นที่3
การคิดริเริ่ม-การรู้สึกผิด
ทฤษฎีจิตสังคม (PsychologicalTheory)
ได้แบ่งพัฒนาทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ – ความไม่ไว้วางใจ (Trust vs
Mistrust)
ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก
อีริควันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป เด็กวัยทารกจำเป็น
จะต้องมีผู้เลี้ยงดูเพราะช่วยตนเองไม่ได้
ผู้เลี้ยงดูจะต้องเอาใจใส่เด็ก ถึงเวลาให้นมก็ควรจะให้และปลด
เปลื้องความเดือดร้อน ไม่สบายของทารกอันเนื่องมาจากการขับถ่าย เป็นต้น
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ – ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง
(Autonomous vs Shame and Doubt)
อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้
สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่ายการช่วยให้เด็กมีความอิสระ พึ่งตัวเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น
อยากจับต้องสิ่งของต่างๆ เพื่อต้องการสำรวจว่าคืออะไร เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง
ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม – การรู้สึกผิด (Initiative
vs Guilt)
วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี
อีริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเอง จากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ
จะสนุกจากการสมมติของต่างๆ เป็นของจริง เช่น อาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์
ขับรถยนต์เหมือนผู้ใหญ่
ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ – ความรู้สึกด้อย
(Industry vs Inferiority)
อีริคสันใช้คำว่า Industry
กับเด็กอายุประมาณ 6-12 ปี
เนื่องจากเด็กวัยนี้มีพัฒนาการด้านสติปัญญาและทางด้านร่างกาย
อยู่ในขั้นที่มีความต้องการที่จะอะไรอยู่เมือไม่เคยว่าง
ขั้นที่ 5 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์ – การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทใน
สังคม (Ego Identity vs Role Confusion)
อีริคสันกล่าวว่า
เด็กในวัยนี้ที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี
จะรู้สึกตนเองว่า มีความเจริญเติบโต โดยเฉพาะทางด้านร่างกายเหมือนกับผู้ใหญ่ทุกอย่าง
ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงทางเพศทั้งหญิงและชาย
เด็กวัยรุ่นจะมีความรู้สึกในเรื่องเพศและบางคนเป็นกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน – ความอ้างว้างตัวคนเดียว (Intimacy
vs Isolation) วัยนี้เป็นวัยผู้ใหญ่
ระยะต้น (Young Adulthood)
เป็นวัยที่ทั้งชายและหญิงเริ่มที่จะรู้จักตนเองว่ามีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร
เป็นวัยที่พร้อมที่จะมี
ความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศในฐานะเพื่อนสนิทที่จะเสียสละให้กันและกัน
รวมทั้งสามารถยินยอม
เห็นใจซึ่งกันและกันโดยไม่เห็นแก่ตัวเลย และมีความคิดตั้งตนเป็นหลักฐานหรือคิดสนใจที่จะแต่งงานมี
บ้านของตนเอง
ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง – ความคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity
vs Stagnation)
อีริควันอธิบายคำว่า
Generativity ว่าเป็นวัยที่เป็นห่วงเพื่อนร่วมโลกโดยทั่วไป
หรือเป็นห่วงเยาวชนรุ่นหลัง อยากจะให้ความรู้ สั่งสอนคนรุ่นหลังต่อไป
คนที่แต่งงานมีบุตรก็สอนลูกหลายคนที่ไม่แต่งงาน ถ้าเป็นครูก็สอนลูกศิษย์
ถ้าเป็นนายก็สอนลูกน้อง หรือช่วยทำงานทางด้านศาสนา เพื่อที่จะปลูกฝังให้คนรุ่นหลังเป็นคนดีต่อไป
ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง – ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง
(Ego Integrity vs Despair)
วัยนี้เป็นระยะบั้นปลายของชีวิต ฉะนั้น
บุคลิกภาพของคนวัยนี้มักจะเป็นผลรวมของวัย 7 วัยที่ผ่านมาผู้มีอาวุโสบางท่านยอมรับว่าได้มีชีวิตที่ดีและได้ทำดีที่สุด
ยอมรับว่าตอนนี้แก่แล้วและจะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข จะเป็นนายของตนเองและมีความพอใจในสภาพชีวิตของตน
ไม่กลัวความตาย พร้อมที่จะตายยอมรับว่าคนเราเกิดมาแล้วก็จะต้องตาย
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ
ฌอง
เพียเจต์ (Jean Piaget)
ฌอง เพียเจต์ (Jean Piaget) เป็นนักชีววิทยาชาวสวิสเซอร์แลนด์ แต่มีความสนใจศึกษาทาด้านจิตวิทยา
โดยเฉพาะในด้านกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญาของเด็กตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงวัยรุ่น
เป็นบุคคลแรกที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ศึกษาพัฒนาการด้านความคิดมนุษย์อย่างเป็นระบบระเบียบ
เพียเจท์เชื่อว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ทุกคนมีความพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์และปรับตัวให้เข้ากับสิ่ง แวดล้อมตั้งแต่เกิด
เพราะมนุษย์ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมซึ่งต้องมี การปรับตัวอยู่ตลอดเวลา
ผลจากกระบวนการดังกล่าวจะทำให้มนุษย์เกิดพัฒนาการของเชาวน์ปัญญา
จากความเชื่อดังกล่าว เพียเจท์จึงได้ศึกษาพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กอย่างละเอียดด้วยการสร้างสถานการณ์เพื่อสังเกตพฤติกรรมของบุตรสาว
3 คนของเขาเป็นระยะเวลานาน และได้ทำบันทึกไว้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้ข้อสรุปว่า
ธรรมชาติของมนุษย์มีพื้นฐานติดตัวตั้งแต่กำเนิด
2 ชนิด คือ
1. การจัดและรวบรวม (organization) เป็นการจัดและรวบรวมกระบวนการต่าง ๆ
ภายใน ให้เป็นระบบระเบียบอย่างต่อเนื่อง
พร้อมกับมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพื่อให้เกิดภาวะสมดุลย์จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
2. การปรับตัว (adaptation) เป็นการปรับตัวเพื่อให้อยู่ในภาวะสมดุลย์กับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการ 2 อย่างคือ
- การซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ (assimilation) หมายถึง
การที่มนุษย์มีการซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่เข้าสู่โครงสร้างของสติปัญญา (cognitive
structure) หลังจากมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
- การปรับโครงสร้างทางเชาวน์ปัญญา (accomodation) หมายถึง
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของเชาวน์ปัญญาที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ได้เรียนรู้เพิ่มขึ้น เพียเจท์กล่าวว่าการพัฒนาสติปัญญาและความคิดของมนุษย์จะต้องอาศัยทั้งการจัดรวบรวมและการปรับตัวดังกล่าว
ซึ่งลักษณะพัฒนาการที่เกิดขึ้นจะดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล
โดยมีองค์ประกอบสำคัญที่เสริมพัฒนาการทางสติปัญญา
4 องค์ประกอบ คือ
1. วุฒิภาวะ (maturation) คือการเจริญเติบโตทางด้านสรีรวิทยามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสติปัญญาและความคิด
โดยเฉพาะเส้นประสาทและต่อมไร้ท่อ
2. ประสบการณ์ (experience) ประสบการณ์เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาด้านสติปัญญา
เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
ทั้งประสบการณ์ที่เกิดจากการมี ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติและประสบการณ์เกี่ยวกับการคิดหาเหตุผลและทางคณิตศาสตร์
ซึ่งสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
3. การถ่ายทอดความรู้ทางสังคม (social transmission) คือการที่บุคคลได้รับการถ่ายทอด
ความรู้ด้านต่าง ๆ จากบุคคลรอบข้าง เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู เป็นต้น
4. กระบวนการพัฒนาสมดุลย์ (equilibration) คือการควบคุมพฤติกรรมของตนเองซึ่งอยู่ในตัวของแต่ละบุคคลเพื่อปรับสมดุลย์ของพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดไปสู่ขั้นที่สูงกว่า
ขั้นพัฒนาการเชาว์ปัญญา
เพียเจท์ได้แบ่งขั้นพัฒนาการของเชาวน์ปัญญาออกเป็น 4 ขั้นคือ
1. ขั้นใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ
(sensorimotor period) อายุ 0- 2 ปี
เป็นขั้นพัฒนาการทางความคิดและสติปัญญาก่อนระยะเวลาที่เด็กจะพูดเป็นภาษาได้
การแสดงถึงความคิดและสติปัญญาของเด็กวัยนี้จะเป็นในลักษณะของการกระทำหรือการแสดงพฤติกรรมต่าง
ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหว เป็นลักษณะของปฏิกิริยาสะท้อน เช่น
การดูด การมอง การไขว่คว้า มีพฤติกรรมน้อยมากที่แสดงออกถึงความเข้าใจ
เพราะเด็กยังไม่สามารถแยกตนเองออกจากสิ่งแวดล้อมได้
ตัวตนของเด็กยังไม่ได้พัฒนาจนกว่าเด็กจะได้รับประสบการณ์
ทำให้ได้พัฒนาตัวตนขึ้นมาแล้ว เด็กจึงสามารถแยกแยะสิ่งต่าง ๆ
ได้จนกระทั่งเด็กอายุประมาณ 18 เดือน จึงจะเริ่มแก้ปัญหาด้วยตนเองได้บ้าง
และรับรู้เท่าที่ สายตามองเห็น
2. ขั้นเริ่มมีความคิดความเข้าใจ (pre-operational period) อายุ 2-7ปี
เด็กวัยนี้เป็นวัยก่อนเข้าโรงเรียนและวัยอนุบาล ยังไม่สามารถใช้สติปัญญากระทำสิ่งต่าง
ๆ ได้อย่างเต็มที่ ความคิดของเด็กวัยนี้ขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่
ไม่สามารถใช้เหตุผล อย่างลึกซึ้งได้ วัยนี้เริ่มเรียนรู้การใช้ภาษา
และสามารถใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ พัฒนาการวัยนี้แบ่งได้เป็น 2 ขั้นคือ
- ขั้นกำหนดความคิดไว้ล่วงหน้า (preconceptual thought) อายุ 2-4 ปี
ระยะนี้เด็กจะมีพัฒนาด้านการใช้ภาษา รู้จักใช้คำสัมพันธ์กับสิ่งของ
มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ได้แต่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่มีเหตุผล
คิดเอาแต่ใจตัวเอง อยู่ในโลกแห่งจินตนาการ ชอบเล่นบทบาทสมมติตามจินตนาการของตนเอง
- ขั้นคิดเอาเอง (intuitive thought) อายุ 4-7 ปี
ระยะนี้เด็กสามารถคิดอย่างมีเหตุผลขึ้น
แต่การคิดยังเป็นลักษณะการรับรู้มากกว่าความเข้าใจ จะมีพัฒนาการรับรู้อย่างรวดเร็ว
สามารถเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้เป็นหมวดหมู่ ทั้งที่มีลักษณะคล้ายคลึงและแตกต่างกัน ลักษณะพิเศษของวัยนี้คือ
เชื่อตัวเองโดยไม่ยอมเปลี่ยนความคิด หรือเชื่อในเรื่องการทรงภาวะเดิมของวัตถุ (conservation)
ซึ่งเพียเจท์เรียกว่า principle of invaiance
3.
ขั้นใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลเชิงรูปธรรม (concrete
operational period ) อายุ 7-11 ปี
ระยะนี้เด็กจะมีพัฒนาการทางความคิดและสติปัญญาอย่างรวดเร็ว
สามารถคิดอย่างมีเหตุผล แบ่งแยกสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ ลำดับขั้น
จัดเรียงขนาดสิ่งของ และเริ่มเข้าใจเรื่องการคงสภาพเดิม
สามารถนำความรู้หรือประสบการณ์ในอดีตมาแก้ปัญหาเหตุการณ์ใหม่ ๆ ได้
มีการถ่ายโยงการเรียนรู้ (transfer of learning) แต่ปัญหาหรือเหตุการณ์นั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับวัตถุหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรม
ส่วนปัญหาที่เป็นนามธรรมนั้นเด็กยังไม่สามารถแก้ได้
4.
ขั้นใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลเชิงนามธรรม (formal
operational period) อายุ 11-15 ปี
ขั้นนี้เป็นขั้นสูงสุดของพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิด
ความคิดแบบเด็ก ๆ จะสิ้นสุดลง จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่
สามารถคิดแก้ปัญหาที่เป็นนามธรรมด้วยวิธีการหลากหลาย
รู้จักคิดอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ สามารถตั้งสมมติฐาน ทดลอง ใช้เหตุผล
และทำงานที่ต้องใช้สติปัญญาอย่างสลับซับซ้อนได้ เพียเจท์กล่าวว่าเด็กวัยนี้เป็นวัยที่คิดเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน
สนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่าง
และมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตนหรือสิ่งที่เป็นนามธรรม
นักจิตวิทยาเชื่อว่า การพัฒนาความเข้าใจจะพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเข้าสู่วัยชรา
** เพียเจท์เชื่อว่าพัฒนาการของเชาวน์ปัญญามนุษย์จะดำเนินไปเป็นลำดับขั้น
เปลี่ยนแปลงหรือข้ามขั้นไม่ได้
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg) ได้ศึกษาวิจัยพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวทฤษฎีของพีอาเจต์
แต่โคลเบิรก์ได้ปรับปรุงวิธีวิจัย
การวิเคราะห์ผลรวมและได้วิจัยอย่างกว้างขวางในประเทศอื่นที่มีวัฒนธรรมต่างไป
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
โคลเบิร์ก ได้ศึกษาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของเยาวชนอเมริกัน อายุ 10
-16 ปี และได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ (Levels) แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น (Stages) ดังนั้น
พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมีทั้งหมด 6 ขั้น
ระดับที่ 1
ระดับก่อนกฏเกณฑ์สังคม จะพบในเด็ก 2-10 ปี
โคลเบิร์กแบ่งขั้นพัฒนาการ ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ระดับจริยธรรมของผู้อื่น
ในขั้นนี้เด็กจะใช้ผลตามของพฤติกรรมเป็นเครื่องชี้ว่า พฤติกรรมของตน “ถูก” หรือ “ผิด” เป็นต้นว่า
ถ้าเด็กถูกทำโทษก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ
“ผิด” และจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งนั้นอีก พฤติกรรมใดที่มีผลตามด้วยรางวัลหรือคำชม
เด็กก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ “ถูก” และจะทำซ้ำอีกเพื่อหวังรางวัล
ขั้นที่ 2
ระดับจริยธรรมของผู้อื่น
ในขั้นนี้เด็กจะสนใจทำตามกฎข้อบังคับ
เพื่อประโยชน์หรือความ
พอใจของตนเอง หรือทำดีเพราอยากได้ของตอบแทน หรือรางวัล พฤติกรรมของเด็กในขั้นนี้ทำเพื่อสนองความต้องการของตนเอง แต่มักจะเป็นการแลกเปลี่ยนกับคนอื่น เช่น
ประโยค “ถ้าเธอทำให้ฉัน
ฉันจะให้.......”
ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม จะพบในวัยรุ่นอายุ 10 -16 ปี
โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการ ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 3 การยอมรับของกลุ่มหรือสังคม
ใช้เหตุผลเลือกทำในสิ่งที่กลุ่มยอมรับโดยเฉพาะเพื่อน
เพื่อเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับของเพื่อน
ไม่เป็นตัวของตัวเอง
คล้อยตามการชักจูงของผู้อื่น
เพื่อต้องการรักษาสัมพันธภาพที่ดี
พบในวัยรุ่นอายุ 10 -15 ปี
ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อต้องการเป็นที่ยอมรับของหมู่คณะ
การช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อทำให้เขาพอใจ
ขั้นที่ 4
กฎและระเบียบของสังคม
จะใช้หลักทำตามหน้าที่ของสังคม
โดยปฏิบัติตามระเบียบของสังคมอย่างเคร่งครัด
เรียนรู้การเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม
ปฏิบัติตามหน้าที่ของสังคมเพื่อดำรงไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ในสังคม พบในอายุ 13 -16
ปี
ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทำตามหน้าที่ของสังคม
โดยบุคคลรู้ถึงบทบาทและหน้าที่ของเขาในฐานะเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมนั้น จึงมีหน้าที่ทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆ
ที่สังคมกำหนดให้ หรือคาดหมายไว้
ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมอย่างมีวิจารณญาณ
เป็นหลักจริยธรรมของผู้มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป
ผู้ทำหรือผู้แสดงพฤติกรรมได้พยายามที่จะตีความหมายของหลักการและมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณ
ก่อนที่จะยึดถือเป็นหลักของความประพฤติที่จะปฏิบัติตาม การตัดสินใจ
“ถูก”
“ผิด” “ไม่ควร” มาจากวิจารณญาณของตนเอง
โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการ ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 5
สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา
ขั้นนี้เน้นถึงความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกสมควรที่จะปฏิบัติตาม โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิของบุคคลก่อนที่จะใช้เป็นมาตรฐานทางจริยธรรม
ได้ใช้ความคิดและเหตุผลเปรียบเทียบว่าสิ่งไหนผิดและสิ่งไหนถูก ในขั้นนี้การ
“ถูก” และ “ผิด” ขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของบุคคลแต่ละบุคคล
ขั้นที่ 6 หลักการคุณธรรมสากล
ขั้นนี้เป็นหลักการมาตรฐานจริยธรรมสากล เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม
เพื่อความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชนและเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ทุกคน ในขั้นนี้สิ่งที่ “ถูก” และ “ผิด” เป็นสิ่งที่ขึ้นมโนธรรมของแต่ละบุคคลที่เลือกยึดถือ
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์
บรุนเนอร์ (Bruner)
เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์
บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง
(discovery learning) แนวคิดที่สำคัญ ๆ ของบรุนเนอร์ มีดังนี้ (Brunner,1963:1-54)
ทฤษฎีการเรียนรู้
1)
การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์
และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2)
การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
3)
การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
4)
แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
5)
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
1.
ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ
ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ
การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด
(Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้
และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
3.
ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้ 6)
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด
หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
7)
การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery
learning)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น