ทฤษฎีพัฒนาการของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส
การนำไปใช้งานพัฒนาการของโรเบิร์ต เจ.
ฮาวิกเฮิร์ส มีผู้นำไปประยุกต์ใช้ในวงการศึกษามาก โดยเฉพาะในระดับอนุบาล
ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เพราะทำให้ครูทราบว่าเด็กในวัยต่างๆ นั้น ทำอะไรได้บ้าง
จะจัดการเรียนรู้อย่างไรให้สนองความพร้อมของเด็ก เมือครูทราบว่าเด็กวัยนั้นๆ ควรทำ
อะไรได้บาง สิ่งเหล่านี้มีความจำเป็น อย่างไร
ระดับอนุบาล
ระดับอนุบาล
1.มีความคิดรวบยอดง่ายๆ
เกี่ยวกับความจริงทางสังคมและทางกายภาพ
2.เรียนรู้ที่จะสร้างความผูกพันระหว่างตนเองกับพ่อแม่พี่น้องตลอดจนคนอื่นๆ
3.เรียนรู้ที่จะมองเห็นความแตกต่าง
ระหว่างสิ่งที่ผิดที่ถูก และเริ่มพัฒนา ทางจริยธรรม
ระดับประถมศึกษา
1.เรียนรู้ที่จะใช้ทักษะทางด้านร่างกาย
2.สร้างเจตคติต่อตนเองในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิต
3.เรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนรุ่นเดียวกัน
4.เรียนรู้บทบาทที่เหมาะสมของเพศหญิงและเพศชาย
5.พัฒนาเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยาและค่านิยม
6.สามารถพึ่งพาตนเองได้
7.พัฒนาเจตคติต่อกลุ่มสังคมและต่อสถาบันต่างๆ
8.พัฒนาทักษะพื้นฐานในการอ่าน เขียน และคำนวณ
ระดับมัธยมศึกษา
1.สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีและเหมาะสมกับเพื่อนในราวคราวเดียวกัน
2. แสดงบทบาททางสังคมได้เหมาะสมกับเพศของตน
3. ยอมรับสภาพร่างกายตนเอง
4. รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
5. มีการเตรียมตัวเพื่อการแต่งงานและการมีครอบครัว
6. เริ่มเตรียมตัวที่จะเป็นพลเมืองดี
7. มีความต้องการและรู้จักพัฒนาตนเองให้มีความรับผิดชอบ
8. มีความเข้าใจในเรื่องค่านิยม
ทฤษฎีพัฒนาจิต-สังคมของอิริคสัน
ทฤษฎีพัฒนาการทางจิต
สังคมของอีริคสันส่งผลให้วงการศึกษาตื่นตัวอย่างน้อยที่สุด 2 เรื่องคือ สัมพันธภาพระหว่างบุคคลและการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง
ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการพัฒนาแต่ละช่วงวัยของผู้เรียน
นอกจากนี้ครูที่นำขั้นพัฒนาการมาใช้เป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ก็จะสามารถช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์
เมื่อทำงานกับนักเรียน
ผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปํญญาของนักเรียนดังต่อไปนี้
นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน
ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก
ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา
นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ
- ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical
experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนแต่ละคนได้ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุต่าง
ในสภาพแวดล้อมโดยตรง
- ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical
experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาให้ความคิดรวบยอดที่
เป็นนามธรรม
หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ
- เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนโดยต้องเน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด
- เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่
- เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ
- เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน
- ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive
conflict activities) โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นนอกเหนือจากความคิดเห็นของตนเองการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้
- ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ
- ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น
- ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง
ๆ
- เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิด
ควรถามคำถามหรือจัดประสบการณ์ให้นักเรียนใหม่
เพื่อนักเรียนจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง
- ชี้ระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนจากงานพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นนามธรรมหรือจากงานการอนุรักษ์
เพื่อดูว่านักเรียนคิดอย่างไร
- ยอมรับความจริงที่ว่า
นักเรียนแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน
- ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป
- ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจำมากกว่าที่จะเข้าใจ
เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning)
ในขั้นประเมินผล ควรดำเนินการสอนต่อไปนี้
- มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน
- พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอนคำถามนั้น
ๆ
- ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อร่วมชั้น
ในการจัดการเรียนรู้ให้วัยรุ่นควรจัดให้รู้จัดคิด ตัดสินใจ
แก้ปัญหา เช่น การแก้ปัญหาโดยใช้หลักการวิทยาศาสตร์ การสอนแบใช้ความคิดรวบยอด
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของ โคห์ลเบิร์ก
ทฤษฎี พัฒนาการทางจริยธรรมของโคห์ลเบิร์ก
ทำให้ผู้สอนรู้ว่าเด็กเล็กมีการตอบสนองข้อขัดแย้งในเรื่องจริยธรรม
แตกต่างจากเด็กโต
ซึ่งในการจัดการเรียนรู้นั้นผู้สอนควรกระตุ้นให้เด็กได้สื่อแนวคิดนั้นๆออก
มาโดยสร้างบรรยากาศที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนอภิปรายได้อย่างอิสระ
และใช้สถานการณ์ตัวอย่างหรือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในห้องเรียนมากระตุ้น
ให้ผู้เรียนตระหนักถึงการมีจริยธรรม
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูนเนอร์
การนำไปประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
1.
กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
2.
การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
3. การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้
โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
4.
ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
5. การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน
6.
การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
7. การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น
8. การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น