ทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ
( Ivan Petrovich Pavlov )
ชื่อ อีวาน เปโตรวิช พาฟลอฟ
เกิด 14 กันยายน ค.ศ.1849 ( 1849-09-14 ) รีซาน , จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต 27 กุมภาพันธ์
ค.ศ.1936 (อายุ 86 ปี)
เลนินกราด , สหภาพโซเวียต
สาขาวิชา สรีวิทยา , จิตวิทยา , แพทย์
ผลงาน การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม Transmarginal.inhibition การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เกียรติประวัติ รางวัลโนเบลสาขาสรีวิทยา
หรือการแพทย์ ( ค.ศ.1904 )
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
พาพลอฟ เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเกิดจากการวางเงื่อนไข
กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือ
สถานการณ์เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวันการตอบสนองเช่นนั้นอาจไม่มี
เช่น กรณีสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งและน้ำลายไหล
เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข พาพลอฟ
เรียกว่า สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข และปฏิกิริยาน้ำลายไหล
เป็นการตอบสนองที่เรียกว่าการตอบสนองที่มีเงื่อนไข
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ
จุดเริ่มมาจากนักสรีระวิทยา ชาวรัสเซีย ชื่อ อิวาน พาฟลอฟ (Ivan
Pavlov) ทำการทดลองให้สุนัขหลั่งน้ำลายเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง
โดยอินทรีย์ (สุนัข) เกิดการเชื่อมโยงสิ่งเร้า 2 สิ่ง คือ เสียงกระดิ่งกับผงเนื้อ จนเกิดการตอบสนองโดยน้ำลายไหล
เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง ดังรูปต่อไปนี้
ก่อนวางเงื่อนไข
ขณะวางเงื่อนไข
หลังจากวางเงื่อนไข
ส่วนประกอบของกระบวนการวางเงื่อนไข
- สิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข UCS (Unconditional Stimulus)
- สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข CS (Conditional Stimulus)
- การตอบสนองอย่างไม่มีเงื่อนไข UCR (Unconditional Response)
- การตอบสนองอย่างมีเงื่อนไข CR (Conditional Response)
Classical Conditioning Thoery
การทดลองโดยสั่นกระดิ่งก่อนที่จะเอาอาหาร (ผงเนื้อ) ให้แก่สุนัข
เวลาระหว่างการสั่นกระดิ่งและการให้ผงเนื้อแก่สุนัขต้องเป็นเวลาที่กระชั้นชิดมากประมาณ .25 ถึง .50 วินาทีทำซ้ำควบคู่กันหลายครั้ง
และในที่สุดหยุดให้อาหารเพียงแต่สั่นกระดิ่งก็ปรากฏว่าสุนัขก็ยังคงมีน้ำลายไหลได้
โดยที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลายไว้
ปรากฏการเช่นนี้เรียกว่า พฤติกรรมของสุนัขถูกวางเงื่อนไข (Povlov,
1972) หรือที่เรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
การเรียนรู้ที่เรียกว่า classical conditioning นั้นหมายถึงการเรียนรู้ใดๆก็ตามซึ่งมีลักษณะการเกิดตาม
ลำดับขั้นดังนี้
1. ผู้เรียนมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง
2. การเรียนรู้เกิดขึ้นเพราะความใกล้ชิดและการฝึกหัด
องค์ประกอบสำคัญในการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง
จะต้องประกอบด้วยกระบวนการของส่วนประกอบ 4 อย่าง คือ
1. สิ่งเร้า เป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยาโต้ตอบออกมา
2. แรงขับ จะทำให้เกิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
3. การตอบสนอง เป็นปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่แสดงออกมาเมื่อได้รับการ
กระตุ้นจากสิ่งเร้า
4. สิ่งเสริมแรง
เป็นสิ่งมาเพิ่มกำลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองให้มีแรงขับเพิ่มขึ้น
กฎการเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นในการทดลอง
พาฟลอฟ ได้สรุปเป็นกฎ 4
ข้อคือ
1. กฎการลบพฤติกรรม
2. กฎแห่งการคืนกลับ
3. กฎความคล้ายคลึงกัน
4. การจำแนก
ลักษณะของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
1.การตอบสนองเกิดจากสิ่งเร้า หรือสิ่งเร้าเป็นตัวดึงการตอบสนองมา
2.การตอบสนองเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ได้จงใจ
3.ให้ตัวเสริมแรงก่อน แล้วผู้เรียนจึงจะตอบสนอง เช่น
ให้ผงเนื้อก่อนจึงจะมีน้ำลายไหล
4.รางวัลหรือตัวเสริมแรงไม่มีความจำเป็นต่อการวางเงื่อนไข
5.ไม่ต้องทำอะไรกับผู้เรียน เพียงแต่คอยจนกระทั่งมีสิ่งเร้ามากระตุ้นจึงจะเกิดพฤติกรรม
6.เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาสะท้อนและอารมณ์
ซึ่งมีระบบประสาทอัตโนมัติเข้าไปเกี่ยวข้องในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล
การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
1.ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล
2.การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์
3.การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข
4.การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง
ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
จอห์น บี วัตสัน (John B.Watson)
วัตสัน (John
B.Watson) เป็น นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
ได้นำเอาทฤษฎีของพาฟลอฟ มาเป็นหลักในการอธิบายผลงานของวัตสัน
ได้รับความนิยมจนได้รับการยกย่องว่าเป็น“บิดาของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม” เป็นผู้นำกลุ่มจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม
นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี ไม่เลว(neutral-passive) การกระทำต่างๆของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก
พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
เป็นการศึกษาพฤติกรรมที่สามารถเห็นได้หรือวัดได้
แนวคิด
วัตสัน ได้นำเอาทฤษฎีของ Pavlov มาเป็นหลักสำคัญ
ในการอธิบายเรื่องการเรียนรู้แนวความคิดของ Watson ก็คือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคทำให้เกิดการเรียนรู้กล่าวคือ
การใช้สิ่งเร้าสองสิ่งมาคู่กันคือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) กับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCR) แล้วทำให้เกิดการตอบสนองอย่างเดียวกัน
วิธีการทดลอง
เริ่มโดยผู้วิจัยเคาะแผ่นเหล็ก
ให้ดังขึ้นให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข(UCS) ซึ่งจะก่อให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (UCR) คือ ความกลัว Watsonได้ใช้หนูขาวเป็นสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข (CS) มาล่อ หนูน้อยอัลเบิร์ต (Albert) อายุ 11 เดือน ชอบหนูขาวไม่แสดงความกลัว
แต่ขณะที่หนูน้อยยื่นมือไปจับเสียงแผ่นเหล็กก็ดัง ขึ้น
ซึ่งทำให้หนูน้อยกลัว ทำคู่กันเช่นนี้เพียงเจ็ดครั้งในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์
ปรากฏว่าตอนหลังหนูน้อยเห็นแต่เพียงหนูขาวก็แสดงความกลัวทันที
แผนผังการทดลอง
เสียงดัง (UCS) -------------- กลัว (UCR)
หนูขาว (neutral) -------------- ไม่กลัว
หนู + เสียงดัง -------------- กลัว (CR)
หนูขาว (CS) -------------- กลัว (CR)
การวางเงื่อนไขกลับ(Counter
Conditioning)
วัตสันคิดหาวิธีที่จะลบความกลัวนั้นให้หายไป
แต่เขาก็ไม่สามารถทำการทดลองกับอัลเบรอร์ตต่อไปได้เนื่องจากอัลเบรอร์ตได้มีผู้รับไปอุปการะในอีกเมืองหนึ่งเสียก่อน
วัตสันจึงได้เสนอให้โจนส์ ทำการทดลองเพื่อลบความกลัวของเด็กอายุ 3 ปี ผู้หนึ่งชื่อ
ปีเตอร์ ปีเตอร์เป็นเด็กที่มีสุขภาพดี
แต่เป็นเด็กขี้กลัวมาก เขากลัวทั้งขนสัตว์และสิ่งของหลายชนิด เช่น หนูขาว กระต่าย
เสื้อขนสัตว์ ขนนก สำลี กบ ปลา เป็นต้น
วัตสันเปรียบปีเตอร์เหมือนเป็นอัลเบรอร์ตตอนโตขึ้นแล้ว
โจนส์ได้พยายามลบความกลัวกระต่ายของปีเตอร์หลายๆวิธี
เช่น ให้ปีเตอร์ดูเด็กอื่นเล่นกระต่าย หรือให้ปีเตอร์เห็นกระต่ายบ่อยๆ
แต่ก็ไม่เป็นผล วิธีที่โจนส์ให้ความสนใจและพบว่าได้ผลมากก็คือ การวางเงื่นไขกลับ (Counter
Conditioning) การวาเงื่อนไขกลับนี้
เป็นการเสนอสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขใหม่ ที่ตรงข้ามกับสิ่งเร้าเก่า เพื่อให้เกิดการตอบสนอง
ที่ตรงข้ามกับการตอบสนองเดิม
วิธีการทดลอง
โจนส์จะนำกรงกระต่ายไปวางไว้ห่างๆในขณะที่ปีเตอร์กำลังรับประทานขนมอย่างเอร็ดอร่อยในช่วงบ่าย
ปีเตอร์ไม่กลัวเพราะกระต่ายอยู่ไกลและกำลังเพลิดเพลินกับการกินขนม โจนส์ทำการทดลองเช่นนี้ทุกวัน
แต่จะค่อยๆ เลื่อนกระต่ายเข้ามาใกล้ปีเตอร์วันละนิด เมื่อสิ้นสุดการทดลอง
โจนส์ก็พบว่า ปีเตอร์ใช้มือข้างหนึ่งเล่นกับกระต่าย
ในขณะที่ใช้มืออีกข้างหนึ่งกินขนม จึงแสดงว่า
ไม่เพียงแต่เข้าจะหายกลัวกระต่ายเท่านั้น แต่เขายังรู้สึกชอบเล่นกับกระต่ายอีกด้วย
จากการทดลอง วัตสัน
สรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้ดังนี้
1) พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้า
ที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติและการเรียนรู้จะคงทนถาวร
หากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
2)เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล ด้านสติปัญญา
ด้านอารมณ์มีการตอบสนองไม่เท่ากัน
การจัดการเรียนการสอนต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์
ผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาที่เรียนหรือสิ่งแวดล้อมในการเรียนได้
3. การล้างพฤติกรรมที่วางเงื่อนไขในแง่ลบ เช่น การที่นักเรียนกลัวครู ครูอาจเปลี่ยนวิธีการสอนใหม่
4. สามารถนำความรู้ไปแก้ไขปัญหาด้านความกลัวของเด็กหรือวางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการตอบสนองในเรื่องที่ต้องการให้แสดงพฤติกรรม
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือทำของ
สกินเนอร์ (Skinner)
Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning
theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาส สิคนั้น
จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์
พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง
ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของPavlov
Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม "
การเสริมแรง (Reinforcement )
หมายถึง
สิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก
มีความคงทนถาวร เช่น
การกดคานและจิกแป้นสีของนกพิราบได้ถูกต้องต้องการทุกครั้งเมื่อหิวหรือต้องการ
ในการทดลอง Skinner ตัวเสริมแรง แบ่งออกเป็น 2
ลักษณะคือ
1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive
Reinforcer) หมายถึง
สิ่งเร้าใดเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร
เป็นต้น
2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negative
Reinforcer) หมายถึง สิ่งเร้าที่ซึ่งเมื่อถูกถอดถอนออกไปแล้ว
จะมีผลให้อัตราการตอบสนองมีความถี่หรือเพิ่มมากขึ้น เช่น
เมื่อใดที่หัวหน้าอยู่ด้วย พนักงานพิมพ์ดีดจะพิมพ์ได้ช้าและผิดพลาดมาก
เมื่อใดที่หัวหน้าออกจากห้องไป พนักงานพิมพ์ดีดก็จะพิมพ์ได้เร็วขึ้น
และผิดพลาดน้อยลง กรณีนี้หัวหน้าก็เป็นตัวเสริมแรงทางลบ
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ (Operant
Conditioning Theory) เกิดขึ้นโดยมีแนวความคิด ของสกินเนอร์ (D.F.
Skinner) ในสมัยของสกินเนอร์ ปี 1950 สหรัฐ
อเมริกาได้เกิดวิกฤติการการขาดแคลนครูที่มีประสิทธิภาพเขาจึงได้คิดเครื่อง
มือช่วยสอนขึ้นมาเพื่อปรับปรุงให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพ
เครื่องมือที่คิดขึ้นมาสำเร็จเรียกว่าบทเรียนสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม(Program
Instruction or Program Learning) และเครื่องมือช่วยในการสอน (Teaching
Machine) เป็นที่นิยมแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
หลักการเรียนรู้ทฤษฎี สกินเนอร์ (Skinner)กับทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant
Conditioning) โดยจากแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการกระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น
ทฤษฏีนี้เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งที่ผู้สอนกำหนดขึ้น
Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning
theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น
จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์
พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง
ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov
Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม "
ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน(Antecedent)
- พฤติกรรม(Behavior) - ผลที่ได้รับ(Consequence) ซึ่งเขาเรียกย่อๆ ว่า A-B-C ซึ่งทั้ง 3
จะดำเนินต่อเนื่องไป ผลที่ได้รับจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอันนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมและนำไปสู่ผลที่ได้รับตามลำดับ
การศึกษาในเรื่องนี้ Skinner ได้สร้างกล่องขึ้นมา มีชื่อเรียนกว่า Skinner Box กล่องนี่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีคานหรือลิ้นบังคับให้อาหารตกลงมาในจาน
เหนือคานจะมีหลอดไฟติดอยู่ เมื่อกดคานไฟจะสว่างและอาหารจะหล่นลงมา Skinner
Box นำนกไปใส่ไว้ในกล่อง
และโดยบังเอิญนกเคลื่อนไหวไปถูกคานอาหารก็หล่นลงมา
อาหารที่นกได้นำไปสู่การกดคานซ้ำและการกดคานแล้วได้อาหาร
สกินเนอร์ (B.F. Skinner) ได้กำหนดการวางเงื่อนไขการกระทำ
ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้กันมากในปัจจุบัน โดยวิธีการวางเงื่อนไขจะใช้การเสริมแรง โดยทดลองกับสัตว์ในห้องปฏิบัติการและค้นคว้าจนพบว่าใช้ได้ดีกับมนุษย์
หลักการวางเงื่อนไขผลกรรม (Operant Conditioning) มีแนวคิดว่า การกระทำใด ๆ (Operant)ย่อมก่อให้เกิดผลกรรม (Consequence หรือ Effect)
การเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรมนี้ต้องการให้เกิดพฤติกรรมโดยใช้ผลกรรมเป็นตัวควบคุม
การเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรมนี้ต้องการให้เกิดพฤติกรรมโดยใช้ผลกรรมเป็นตัวควบคุม
ผลกรรมที่เกิดขึ้น
- ถ้าเป็นผลกรรมที่ต้องการ
เป็นผลกรรมเชิงบวก เรียก การเสริมแรง
- ถ้าเป็นผลกรรมที่ไม่ต้องการ
เป็นผลกรรมเชิงลบ เรียกว่า การลงโทษ
การเสริมแรง หมายถึง
การทำให้มีพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเนื่องจากผลกรรม ได้แก่
- เสริมแรงทางบวก เช่น
ทำงานเสร็จแล้วแม่ให้ถูโทรทัศน์
- เสริมแรงทางเชิงลบ เช่น
การขึ้นสะพานลอยเพื่อพ้นจากการถูกจับ
- การลงโทษทางบวก เช่น
เด็กส่งเสียงดัง แล้วถูกดุ
- การลงโทษทางลบ เช่น
ทำการบ้านไม่เสร็จแล้วแม่ไม่ให้ไปเล่นเกมส์
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์
(Thorndike)
ธอร์นไดค์ (Edward L
Thorndike) เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาชาวอเมริกัน
เป็นเจ้าของทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (S) กับการตอบสนอง (R)เขาเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ต้องสร้างสิ่งเชื่อมโยงหรือพันธ์
(Bond) ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
จึงเรียกทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีพันธะระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (Connectionism
Theory) หรือ ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง
หลักการเรียนรู้
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง กล่าวถึง
การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยมีหลักพื้นฐานว่า
การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่มักจะออกมาในรูปแบบต่างๆ
หลายรูปแบบ โดยการลองถูกลองผิด จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีและเหมาะสมที่สุด
การทดลอง
ธอร์นไดค์ได้นำแมวไปขังไว้ในกรงที่สร้างขึ้น
แล้วนำปลาไปวางล่อไวนอกกรงให้ห่างพอประมาณ โดยให้แมวไม่สามารถยื่นเท้าไปเขี่ยได้
จากการสังเกต พบว่าแมวพยายามใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อจะออกไปจากกรง
จนกระทั่งเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้โดยบังเอิญ ทำให้ประตูเปิดออก หลังจากนั้นแมวก็ใช้เวลาในการเปิดกรงได้เร็วขึ้น
จากการทดลองธอร์นไดค์อธิบายว่า
การตอบสนองซึ่งแมวแสดงออกมาเพื่อแก้ปัญหา
เป็นการตอบสนองแบบลองผิดลองถูก การที่แมวสามารถเปิดกรงได้เร็วขึ้น
ในช่วงหลังแสดงว่า
แมวเกิดการเรียนรู้ด้วยการสร้างพันธะหรือตัวเชื่อมขึ้นระหว่างคานไม้กับการกดคานไม้
กฎการเรียนรู้ จากการทดลองสรุปเป็นกฎการเรียนรู้ได้ ดังนี้
1. กฎแห่งความพร้อม (Law of
Readiness) หมายถึง
สภาพความพร้อมหรือวุฒิภาวะของผู้เรียนทั้งทางร่างกาย อวัยวะต่างๆ
ในการเรียนรู้และจิตใจ รวมทั้งพื้นฐานและประสบการณ์เดิม สภาพความพร้อมของหู ตา
ประสาทสมองกล้ามเนื้อ ประสบการณ์เดิมที่จะเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่หรือสิ่งใหม่
ตลอดจนความสนใจ ความเข้าใจต่อสิ่งที่เห็น
ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมตามองค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว
ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) หมายถึงการที่ผู้เรียนได้ฝึกหัดหรือกระทำซ้ำๆบ่อยๆ
ย่อมจะทำให้เกิดความสมบูรณ์ถูกต้อง
ซึ่งกฎนี้เป็นการเน้นความมั่นคงระหว่างการเชื่อมโยงและการตอบสนองที่ถูกต้องย่อมนำมาซึ่งความสมบูรณ์
3. กฎแห่งความพอใจ (Law of Effect) กฎนี้เป็นผลทำให้เกิดความพอใจ กล่าวคือ เมื่ออินทรีย์ได้รับความพอใจ จะทำให้หรือสิ่งเชื่อมโยงแข็งมั่นคง
ในทางกลับกันหากอินทรีย์ได้รับความไม่พอใจ
จะทำให้พันธะหรือสิ่งเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองอ่อนกำลังลง
หรืออาจกล่าวได้ว่า หากอินทรีย์ได้รับความพอใจจากผลการทำกิจกรรม
ก็จะเกิดผลดีกับการเรียนรู้ทำให้อินทรีย์อยากเรียนรุ้เพิ่มมากขึ้นอีก
ในทางตรงข้ามหากอินทรีย์ได้รับผลที่ไม่พอใจก็จะทำให้ไม่อยากเรียนรู้หรือเบื่อหน่ายและเป็นผลเสียต่อการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของ
แบนดูรา( Bandara )
ประวัติของศาสตราจารย์บันดูรา
เกิดที่เมืองอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา
ได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต
จากมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย
ได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางจิตวิทยาคลินิก
จากมหาวิทยาลัยไอโอวา
แนวคิดและทฤษฎี
บันดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ
เนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ
ตัวอยู่เสมอผู้เรียนต้องสามารถที่จะประเมินได้ว่าตนเลียนแบบได้ดีหรือไม่ดีอย่างไร
และจะต้องควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ด้วย บันดูรา จึงสรุปว่า
การเรียนรู้โดยการสังเกตจึงเป็นกระบวนการทางการรู้คิดหรือพุทธิปัญญา
ขั้นตอนการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือเลียนแบบมี 2 ขั้น
ขั้นที่ 1
ขั้นการได้รับมาซึ่งการเรียนรู้ (Acquisition) ทำให้สามารถแสดงพฤติกรรมได้
สิ่งเร้าหรือการรับเข้า > บุคคล
ขั้นที่ 2 เรียกว่าขั้นการกระทำ (Performance) ซึ่งอาจจะกระทำหรือไม่กระทำก็ได้
สิ่งเร้าหรือการรับเข้า > บุคคล
ปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้โดยการสังเกต
1. กระบวนการความเอาใจใส่ (Attention) ความใส่ใจของผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญมาก
ถ้าผู้เรียนไม่มีความใส่ใจการเรียนรู้
ก็จะใม่เกิดขึ้น
2. กระบวนการจดจำ
(Retention) ผู้เรียนสามารถจดจำสิ่งที่ตนเองสังเกตและไปเลียนแบบได้ถึงแม้เวลาจะผ่านไปก็ตาม
3.
กระบวนการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวอย่าง (Reproduction) เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนสามารถแสดงออกมาเป็นการการกระทำหรือแสดงพฤติกรรมเหมือนกับตัวแบบ
4.
กระบวนการการจูงใจ (Motivation) แรงจูงใจของผู้เรียนที่จะแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบที่ตนสังเกต
เนื่องจากความคาดหวังว่า การเลียนแบบจะนำประโยชน์มาให้
บันดูราและผู้ร่วมงานได้แบ่งเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม
- เด็กกลุ่มหนึ่ง ให้เห็นตัวอย่างจากตัวแบบที่มีชีวิต
แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
- เด็กกลุ่มที่สอง มีตัวแบบที่ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
- เด็กกลุ่มที่สาม ไม่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมให้ดูเป็นตัวอย่าง
ผลการทดลองพบว่า เด็กที่อยู่ในกลุ่มที่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
จะแสดงพฤติกรรมเหมือนกับที่สังเกตจากตัวแบบการทดลอง
คุณสมบัติของผู้เรียน
-
ผู้เรียนจะต้องมีความสามารถที่จะรับรู้สิ่งเร้า
-
สามารถสร้างรหัสหรือกำหนดสัญลักษณ์ของสิ่งที่สังเกตเก็บไว้ในความจำระยะยาว
-
สามารถเรียกใช้ในขณะที่ผู้สังเกตต้องการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ
การนำทฤษฎีมาประยุกต์ในการเรียนการสอน
1
บ่งชี้วัตถุประสงค์ที่จะให้นักเรียนแสดงพฤติกรรมหรือเขียนวัตถุประสงค์เป็นเชิงพฤติกรรม
2 แสดงตัวอย่างของการกระทำหลายๆอย่าง
3
ให้คำอธิบายควบคู่กันไปกับการให้ตัวอย่างแต่ละอย่าง
4
ชี้แจงขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกตแก่นักเรียน
5
จัดเวลาให้นักเรียนมีโอกาสที่แสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ
6
ให้เสริมแรงแก่นักเรียนที่สามารถเลียนแบบได้อย่างถูกต้อง
สรุป
เน้นความสำคัญของการเรียนรู้แบบการสังเกตหรือเลียนแบบจากตัวแบบ
ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งตัวบุคคลจริง ๆ เช่น ครู เพื่อน หรือจากภาพยนตร์โทรทัศน์
การ์ตูน การเรียนรู้โดยการสังเกตประกอบด้วย 2 ขั้น คือ
ขั้นการรับมาซึ่งการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางพุทธิปัญญา และขั้นการกระทำ
ตัวแบบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลมีทั้งตัวแบบในชีวิตจริงและตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยมของ
เกสตัลท์ (Gestalt Theory)
กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt
Psychology) แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์
เกิดขึ้นในระยะใกล้เคียงกับกลุ่มพฤติกรรมนิยม ผู้นำกลุ่มได้แก่ แมกซ์ เวอร์
ไธเมอร์ (Max Wertheimer)และผู้ร่วมกลุ่มอีก 3 คน คือ เคอร์ท
เลอวิน (Kurt Lewin) , เคอร์ท คอฟพ์กา (Kurt
Koffka) และวอล์ฟแกง โคเลอร์ (Wolfgang Kohler) ซึ่งเป็นชาวเยอรมัน
คำว่า เกสตัลท์ (Gestalt) เป็นภาษาเยอรมัน ความหมายเดิมแปลว่า แบบหรือรูปร่าง (Gestalt =
form or Pattern) ต่อมาปัจจุบันแปลว่าส่วนรวมหรือส่วนประกอบทั้งหมด
(Gestalt =The wholeness)
กลุ่มเกสตัลท์
มีแนวคิดว่าการเรียนรู้เกิดจากการจัดสิ่งเร้าต่าง ๆ
มารวมกันเริ่มต้นด้วยการรับรู้โดยส่วนรวมก่อนแล้ว
จึงจะสามารถวิเคราะห์เรื่องการเรียนรู้ส่วนย่อยทีละส่วนต่อไป
หลักการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์
กลุ่มเกสตัลท์
เชื่อว่าการเรียนรู้ที่เห็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยนั้นจะต้องเกิด
จากประสบการณ์เดิม และการเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้น 2 ลักษณะคือ
1. การรับรู้ (Perception)
การรับรู้หมายถึงการแปลความหมายหรือการตีความต่อสิ่งเร้าของ
อวัยวะรับสัมผัสส่วน ใดส่วนหนึ่งหรือทั้งห้าส่วน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น
และผิวหนัง และการตีความนี้ มักอาศัย ประสบการณ์เดิมดังนั้น แต่ละคน
อาจรับรู้ในสิ่งเร้าเดียวกันแตกต่างกันได้ แล้วแต่ประสบการณ์ เช่น
นางสาว ก. เห็นสีแดง
แล้วนึกถึงเลือดแต่นางสาว ข. เห็นสีแดงอาจนึกถึงดอกกุหลาบสีแดงก็ได้
การเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ ที่เน้น “การรับรู้เป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย” นั้น ได้สรุปเป็นกฎการเรียนรู้ของ ทั้งกลุ่ม ออกเป็น 4 กฎ
เรียกว่ากฎการจัดระเบียบเข้าด้วยกัน (The Laws of Organization) ดังนี้
1. กฎแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน (Law of Pregnant)
2. กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity)
3. กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity)
4. กฎแห่งการสิ้นสุด(Law of Closure)
1.
กฎแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน (Law of Pragnanz) ซึ่งกล่าวว่าเมื่อต้องการให้มนุษย์เกิดการรับรู้
ในสิ่งเดียวกัน ต้องกำหนดองค์ประกอบขึ้น 2 ส่วน คือ
ก.
ภาพหรือข้อมูลที่ต้องการให้สนใจเพื่อเกิดการเรียนรู้ในขณะนั้น (Figure)
ข. ส่วนประกอบหรือพื้นฐานของการรับรู้ (Background or Ground) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ประกอบอยู่ในการเรียนรู้นั้นๆ
แต่ผู้สอนยังมิต้องการให้ผู้เรียนสนใจในขณะนั้น ปรากฏว่า วิธีการแก้ปัญหา โดยกำหนด Figure และ Background ของเกสตัลท์ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
เพราะสามารถทำ ให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ด้วยการรับรู้อย่างเดียวกันได้
ซึ่งนักศึกษาจะได้ ทราบรายละเอียดในเรื่องทฤษฎีการเรียน
รู้ของกลุ่มเกสตัลท์ในโอกาสต่อไป แต่ในที่นี้ขอเสนอพอสังเขป ดังนี้
บางครั้ง Figure อาจเปลี่ยนเป็น Ground และ Ground อาจเปลี่ยนเป็น Figure ก็ได้ ถ้าผู้สอนหรือผู้นำเสนอ เปลี่ยนสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียน
หรือกลุ่มเป้าหมายเบนความสนใจไปตามที่ตนต้องการ โปรดดูภาพต่อไปนี้
ดูภาพข้างบนนี้ นักศึกษาเห็นว่าเป็น “นางฟ้า” หรือว่า “ปีศาจ” ถ้ามองสีดำเป็นภาพสีขาวเป็นพื้นจะเห็นเป็นรูปอะไร
แต่ถ้ามองสีสีขาวเป็นภาพสีดำเป็นพื้น จะเห็นเป็นรูปอะไร ลองพิจารณาดู
ดูภาพข้างบนนี้
นักศึกษาเห็นว่าเป็นรูปพานหรือว่าเป็นรูปคน 2 คนหันหน้าเข้าหากัน
ถ้าดูสีขาวเป็นภาพ สีดำเป็นพื้นก็จะเป็นรูปพาน ถ้าดูสีดำเป็นภาพ สีขาวเป็นพื้น
ก็อาจจะเห็นเป็นรูปคน 2 คน หันหน้าเข้าหากัน
2. กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) กฎนี้เป็นกฎที่ Max
Wertheimer ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1923
โดยใช้เป็นหลักการในการวางรูปกลุ่มของการรับรู้ เช่น กลุ่มของ เส้น หรือสี
ที่คล้ายคลึงกัน หมายถึงสิ่งเร้าใด ๆ ก็ตาม ที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสี ที่คล้ายกัน
คนเราจะรับรู้ว่า เป็นสิ่งเดียวกัน หรือพวกเดียวกัน
3.
กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity) สาระสำคัญของกฎนี้ มีอยู่ว่า ถ้าสิ่งใด
หรือสถานการณ์ใดที่เกิดขึ้นในเวลาต่อเนื่องกัน หรือในเวลาเดียวกัน
อินทรีย์จะเรียนรู้ ว่า เป็นเหตุและผลกัน หรือ สิ่งเร้าใดๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกัน
มนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับรู้ สิ่งต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกันเป็นพวกเดียวกัน
หมวดหมู่เดียวกัน
4. กฎแห่งการสิ้นสุด (Law of Closure) สาระสำคัญของกฎนี้มีอยู่ว่า “แม้ว่าสถานการณ์หรือปัญหายังไม่สมบูรณ์
อินทรีย์ก็จะเกิดการเรียนรู้ ได้จากประสบการณ์เดิมต่อสถานการณ์นั้น”
2. การหยั่งเห็น
เรื่องของการหยั่งเห็นนี้ วอล์ฟแกง
โคห์เลอร์ ได้ทำการทดลองอยู่หลายการทดลอง แต่ขอยกตัวอย่างพอสรุปสั้น ๆ
สักการทดลองหนึ่ง คือ เขาได้นำลิงตัวหนึ่ง ชื่อ สุลต่าน มาอดอาหารจนหิวจัด
แล้วนำไปขังไว้ ในกรง แขวนกล้วยหวีหนึ่งไว้ในที่สูงในกรง ในระดับที่ลิง
ไม่สามารถเอื้อมถึง แล้ว นำกล่องไม้ 3 กล่อง ไว้ในกรงด้วย กะว่าเมื่อนำกล่องไม้ 3
กล่อง มาตั้ง ต่อๆ กัน ลิงก็สามารถหยิบกล้วยได้
ผลการทดลองปรากฏว่า
เมื่อลิงหิวจัด ก็หาวิธีที่จะหยิบกล้วยให้ได้ ในที่สุด
ลิงก็มองเห็นกล่องไม้ ได้กล่าวไว้ตอนต้นแล้วว่า โคห์เลอร์ ได้เน้นว่า “ การเรียนรู้เกิดจากการหยั่งเห็น (Insight) โดยอาศัยประสบการณ์เดิม
ที่คล้ายคลึงกันมาแก้ปัญหาใหม่ที่ประสบ ”
การนำหลักการทฤษฎีกลุ่มความรู้ ความเข้าใจ ไปประยุกต์ใช้
1. ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง
2.
เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้นเรียน
3.
การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอน
เนื้อหามีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน
4. คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียน
5. บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น